Advertisement
Leaderboard 728x90

ส่งออกหมาก 6 เดือนวูบ 62%

สมาคมส่งเสริมการปลูก และส่งออกหมากพลู จังหวัดพัทลุงผนึก วว.ตั้ง “ทีมงานวิจัย” ตั้งเป้าแปรรูปสู่เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค เสริมความงาม ฯลฯ ขณะที่ยอดส่งออกหมากช่วง 6 เดือนแรกปี 266 ตกวู5บกว่า 62.90%

ดร.สมบัติ ชนะสิทธิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการปลูก และส่งออกหมากพลู จ.พัทลุง เปิดเผย ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางสมาคมได้เข้าพบ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)เพื่อหารือถึงแนวทางในการนำนวัตกรรมมาช่วยแปรรูปผลผลิตหมาก เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างรายได้ตามที่ตลาดโลกต้องการ แทนที่จะขายเป็นวัตถุดิบหมากแห้ง และหมากอ่อน ภายหลังการหารือทางผู้ว่าการ วว.ได้แต่งตั้ง “ทีมงานวิจัย” ขึ้น โดยมี ดร.กฤติยา ทิสยากร นักวิจัยอาวุโสศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งเคยทำวิจัยเกี่ยวกับหมากประสบความสำเร็จมาแล้วมาร่วมทีมในครั้งนี้ด้วย เพื่อหาสารสำคัญต่าง ๆ ในผลผลิตหมากของไทยแต่ละพันธุ์ เพื่อผลักดันการปลูกหมากสายพันธุ์นั้น ๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรได้สูงสุด โดยใช้งบประมาณในการวิจัยประมาณ 3-4 ล้านบาท ซึ่งมีงบประมาณอยู่บ้างแล้วบางส่วน

Advertisement
Kreamy Proof

ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายจะนำสารสำคัญที่พบในหมากมาต่อยอดใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.แปรรูปเป็นอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ ทั้งผลิตภัณฑ์รักษาโรค และเสริมความงาม ฯลฯ และ 2.แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งมีกลุ่มนักธุรกิจสนใจลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยแล้ว

นอกจากนี้ขอให้ทีมงานช่วยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเก็บรักษาคุณภาพหมากแห้งที่เก็บสต๊อกไว้นาน 2-3 ปี ไม่ให้มีตัวมอดไปกัดกินสร้างความเสียหาย ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการรมยาป้องกันไม่ให้ตัวมอดมากิน เพื่อยืดระยะเวลาการเก็บหมากในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด ซึ่งขายไม่ได้ราคา

ตั้งแต่ปี 2564-2565 ภาครัฐและภาคเอกชนได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกหมากในพื้นที่ภาคใต้ในลักษณะสวนผสมกับการปลูกยางพารา คาดว่าในระยะ 5 ปีข้างหน้าจะสามารถป้อนวัตถุดิบได้ตามความต้องการของตลาดโลก

โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างประเทศอินเดีย จีน ไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการส่งเสริมการปลูกแล้ว แทนที่จะขายผลดิบ ตากแห้ง ควรส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อป้อนสู่ตลาดโลกคู่ขนานกันไปในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

Advertisement
The Xpozir

จีระวัฒน์ ภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกณรงค์หมากไทย จำกัด กล่าวว่า อยากให้ภาครัฐช่วยกันผลักดันให้หมากเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ และก้าวสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม เพราะหมากมีสารสกัดสำคัญที่สามารถนำไปแปรรูปได้มากมายแต่ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เห็นความสำคัญ ดังนั้นต้องรอนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาช่วยผลักดัน เมื่อจัดตั้งรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในระยะหนึ่ง จะได้นำคณะเกษตรกรผู้ปลูกหมาก และพ่อค้าหมาก ฯลฯ เข้าพบเพื่อหารือเรื่องหมากและรายงานกับรัฐบาลใหม่ให้รับทราบข้อเท็จจริง

โดยเฉพาะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนผลักดันนโยบายหมากให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่อย่างจริงจังและเชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่จะให้การสนับสนุน

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งตัวเลข 15 ประเทศที่ไทยส่งออกหมากไปขายมากที่สุดช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าส่งออก 597.63 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนติดลบไป -62.90% แบ่งเป็น

1.บังกลาเทศ มูลค่า 316.03 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 76.69%, 2.เมียนมา มูลค่า 166.50 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนติดลบไป -84.56%, 3.มาเลเซีย มูลค่า 20.99 ล้านบาท, 4.อิหร่าน มูลค่า 18.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 109.33%,

5.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มูลค่า 14.83 ล้านบาท ติดลบ -60.99%, 6.สหราชอาณาจักร มูลค่า 14.75 ล้านบาท ติดลบ -29.43%, 7.อินเดีย มูลค่า 10.51 ล้านบาท ติดลบ -91.22%, 8.จีน มูลค่า 7.44 ล้านบาท, 9.ซาอุดีอาระเบีย มูลค่า 6.52 ล้านบาท ติดลบ -44.68%,

10.เวียดนาม มูลค่า 5.87 ล้านบาท ติดลบ -95.90%, 11.มัลดีฟส์ มูลค่า 4.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 112.03%, 12.ศรีลังกา มูลค่า 3.46 ล้านบาท, 13.สหรัฐอเมริกา มูลค่า 3.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.86%, 14.อัฟกานิสถาน มูลค่า 2.37 ล้านบาท และ 15.เยเมน มูลค่า 2.23 ล้านบาท ติดลบ -66.54%

ทั้งนี้ หากย้อนดูตัวเลขการส่งออกหมากในช่วง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2561 มูลค่าส่งออก 2,193.23 ล้านบาท, ปี 2562 มูลค่าส่งออก 2,074.35 ล้านบาท, ปี 2563 มูลค่าส่งออก 2,316.55 ล้านบาท, ปี 2564 มูลค่าส่งออก 5,236.20 ล้านบาท, ปี 2565 มูลค่าส่งออก 2,554.49 ล้านบาท


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard