Advertisement
Leaderboard 728x90

สรท.เผยการส่งออกของไทยพ.ค.67 มีมูลค่า 26,219.5 ล้านดอลลาร์

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เผยการส่งออกของไทยเดือนพ.ค.67 มีมูลค่า 26,219.5 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 7.2% ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการส่งออกผลไม้สด เนื่องจากผลผลิตออกล่าช้าจากไตรมาส 1 มาเป็นช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้  ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออก  5 เดือน (ม.ค.- พ.ค.67) ขยายตัว 2.6% ถือว่าทำได้ดีมาก ซึ่งเหลือเพียง 1 เดือนต่อให้การส่งออกเลวร้ายสุด 23,300-23,400 ดอลลาร์ครึ่งปีแรกน่าจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 1-2% โดยเป้าหมายครึ่งปีแรกถือว่าสอบผ่าน ส่วนครึ่งปีหลังก็ยังมีโมเมนตัมที่จะเติบโตได้แบบค่อยเป็นค่อยไป

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)เปิดเผยว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกรกฎาคม 2567 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกมีมูลค่า 25,720.6 ขยายตัว 15.2% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 938,285 ล้านบาท ขยายตัว 21.8% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนกรกฎาคมขยายตัว 9.3%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27,093.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.1%และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 999,755 ล้านบาท ขยายตัว 19.4% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 1,373.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลในรูปของเงินบาท 61,470 ล้านบาท

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

ขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่าไทยส่งออกรวมมูลค่า 171,010.6 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 3.8% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,129,300 ล้านบาท ขยายตัว3.8% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัยพบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม-กรกฎาคม ขยายตัว 4%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 177,626.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.4% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,437,235 ล้านบาท ขยายตัว 9.9% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 6,615.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขาดดุลในรูปเงินบาท 307,935 ล้านบาท

ทั้งนี้ สรท. คงคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตที่ 1-2% โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังในครึ่งปีหลังที่สำคัญ ได้แก่ 1.ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วอย่างมีนัยสำคัญส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกทันทีเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ราคาสินค้าของไทยสูงกว่าคู่แข่งส่งผลต่อความสามารถในการแข็งขันที่ลดลงของผู้ประกอบการในประเทศ2.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแคนาดา ตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีนส่งผลให้สินค้าจีนไหลกลับมายังตลาดเอเชียและสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อ 3.ปัญหาการขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งกระทบซัพพลายเชนในภาคการผลิตและการให้บริการในท่าเรือฝั่งตะวันออกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเดินเรือในภาพรวม,ค่าระวางเรือยังคงตึงตัวและผันผวนในท่าเรือหลัก,ปัญหาสภาพตู้ขนส่งสินค้าที่สายเรือส่งมอบให้บรรจุสินค้าต่ำกว่าความคาดหวังของผู้ส่งออกและ4.การเข้าถึงและการตัดวงเงินสินเชื่อของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

สรท. มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลใหม่ที่สำคัญ ดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างรัฐบาลต้องมุ่งเน้นให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นชาติการค้าเพื่อช่วยสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและแข่งขันได้ในระดับสากลและ การพัฒนาการส่งออกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างมั่นคง 2.ด้านโลจิสติกส์ ต้องเร่งแก้ไขปัญหาความแออัดท่าเรือแหลมฉบังที่มีมาต่อเนื่อง ประกอบกับค่าน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนที่ผู้ส่งออก-นำเข้า ต้องแบกรับ 3.ด้านการเงินต้องรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไปพร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเร่งประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนกระแสเงินสดและการผลิตเพื่อการส่งออก4.ด้านการผลิตและต้นทุนโดยต้องกำกับดูแลต้นทุนการผลิตและต้นทุนวัตถุดิบเพื่อให้การส่งออกของไทยยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันได้อาทิต้นทุนพลังงานและราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำและค่าขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเฉพาะค่าระวางเรือ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและกำกับดูแลสินค้าการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติต้องเอื้อประโยชน์ให้กับซัพพลายเชนในประเทศ 5.ด้านการตลาดและ e-Commerce รัฐต้องกำกับดูแลสินค้าไม่ได้มาตรฐานรวมถึงสินค้าต้นทุนต่ำที่ทะลักเข้ามาในประเทศซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศโดยเฉพาะ SMEs และปัญหาการจ้างงานลดลง


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard