Advertisement
Leaderboard 728x90

กกร.ห่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดส่งออกไทย ปี’66 ติดลบ 2%

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนกรกฎาคม 2566 ห่วงเศรษฐกิจโลกชะลอ หั่นเป้าส่งออกของไทย ปี พ.ศ. 2566 ติดลบ 2%

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมประเมินประมาณการณ์มูลค่าการส่งออกปี 2566 จะหดตัวมากขึ้นในกรอบติดลบ 2-0% จากเดิมประเมินไว้ติดลบ 1-0% เนื่องจากภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เช่นเดียวกับภาคบริการเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

“เรามองว่า การส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ซึ่งภาครัฐควรเร่งสนับสนุนการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ในประเทศที่ยังขยายตัวได้ เช่น จีน อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพื่อทดแทนการส่งออกในประเทศหลัก โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรปที่อ่อนแอลง รวมทั้งเร่งผลักดันการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) เพื่อเปิดตลาดใหม่และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ส่งออกไทย” นายผยง กล่าว

ขณะที่ ธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่งตะวันตกมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการเงินตึงตัวจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่จะยิ่งกดดันภาคธุรกิจและจำกัดการใช้จ่าย นำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน มีการปรับลดประมาณการตัวเลขการเติบโตของ GDP จีนปี 2566 ลงสู่ระดับ 5.4-5.5% จากเดิม 6% ปัจจัยเหล่านี้อาจฉุดการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า

นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะไปถึง 29-30 ล้านคน และรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกร.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงเติบโตประมาณ 3.0% ถึง 3.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ต่อจีดีพี ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกัดและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนมูลค่าการส่งออกประเมินว่าหดตัวมากขึ้นในกรอบ -2.0% ถึง 0.0% จากเป้าเดิม -1.0% ถึง 0.0% ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ แม้ยังมีความเสี่ยงจากภัยแล้ง (เอลนิโญ) และหากมีการปรับค่าแรง แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำลงจากที่ประเมินไว้เดิมตามทิศทางราคาพลังงาน โดยจะอยู่ในกรอบ 2.2 ถึง 2.7%

Advertisement
The Xpozir

Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard