Advertisement
Leaderboard 728x90

สสส. เตือนกินเจงดเค็มและลดโซเดียม

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เตือนกินเจงดเค็ม ลดโซเดียม ห่วงคนไทยยังกินโซเดียมสูง เด็กรุ่นใหม่เสี่ยงโรคไตเร็วขึ้น แนะ 4 เลือก 4 เสี่ยง

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า อาหารเจส่วนมากมีรสหวาน มัน เค็มจัด องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกายคือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมหรือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน แต่ข้อมูลปริมาณการบริโภคโซเดียมคนไทย ปี 2562-2565 เกินกว่ามาตรฐานเกือบ 2 เท่า ล่าสุด พบคนรุ่นใหม่ อายุ 17-24 ปี บริโภคโซเดียมเกินถึง 3,194 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไต หัวใจและหลอดเลือดเร็วขึ้น

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

“กินเจวิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs ควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ เน้นผักมากกว่าแป้งและของทอด คำนึงถึงความสะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร สร้างสมดุลให้ร่างกาย และมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เพื่อให้การกินเจปีนี้ได้ทั้งบุญได้ทั้งสุขภาพ” นพ.ไพโรจน์ กล่าว

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม กล่าวว่า คนไทยมีพฤติกรรมติดเค็มตั้งแต่อายุยังน้อย ช่วงเทศกาลกินเจ หลายคนนิยมเลือกอาหารเจแบบแช่แข็งและกึ่งสำเร็จรูป เพราะหาซื้อได้สะดวก ผลสำรวจกลุ่มอาหารแช่แข็ง 53 รายการ พบปริมาณโซเดียมเฉลี่ยสูง 890 มิลลิกรัมต่อบรรจุภัณฑ์ ขณะที่กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป 300 รายการ เช่น บะหมี่ โจ๊ก ซุปกึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียมเฉลี่ยสูง 1,240 มิลลิกรัม ส่งผลกระทบให้เกิด 6 สัญญาณเตือนสุขภาพ 1.ใบหน้า ใต้ตา มือ เท้าบวม 2. กระหายน้ำ 3.ท้องอืด 4.น้ำหนักขึ้นเร็ว 5.เหนื่อยง่าย และ 6.ความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้ โซเดียมอยู่ในองค์ประกอบของอาหารแทบทุกชนิด มีโซเดียมที่เกิดจากการใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ผสมในอาหารหรือใช้ถนอมอาหาร หรือจากโซเดียมแฝงในเครื่องปรุงรสหรือส่วนผสมของอาหาร เช่น ผงฟูในขนมปัง จึงควรหันมาสนใจลดการกินโซเดียม เพื่อสุขภาพที่ดีของไตและร่างกาย กินเจ “ลดเค็ม เลือกได้” ใช้สูตร 4 เลือก 4 เลี่ยง 1.เลือกกินผักสดและหลากหลาย 2.เลือกสั่งเค็มน้อย ไม่ใส่ผงชูรส 3.เลือกไม่ปรุงเพิ่ม 4.เลือกอาหารแช่แข็งที่มีฉลากโภชนาการทางเลือกสุขภาพ และต้องหลีกเลี่ยง คือ 1.เลี่ยงซดน้ำซุป 2.เลี่ยงอาหารแปรรูป กึ่งสำเร็จรูป 3.เลี่ยงอาหารหมักดอง 4.เลี่ยงขนมกรุบกรอบ ทั้งนี้ สามารถทดสอบพฤติกรรมติดเค็ม 5 ระดับ พร้อมแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเค็มได้ที่เว็บไซต์ https://sodiumquiz.lowsaltthai.com


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard